ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของเด็กหญิงนิภาวรรณ แก้วศรีโท รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

ข่าว

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีการประเมินความน่าเชื่อของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

      วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบ
ความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 
ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้
        1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี 
ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ
         2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหน
วัติอพยพมาจากเหนือ)  จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (
เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง 
ตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของ
หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด
         3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัย
ที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)  ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)  
ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง)  ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ)  จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา)  
จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์)  จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตาม
การค้นพบ ก่อน – หลัง
         4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่
           4.1 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ
           4.2 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ             
                     4.2.1 ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม
             4.2.2 ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
             4.2.3 ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา
         4.3 พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก
         5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติ
เข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า 
เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต 
เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัด
ทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น

หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท

       1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่า 
มีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้
         1.1 ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น
         1.2 จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
         1.3 ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง
         1.4 คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือ
จิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาด
หรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น
         1.5 ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่
         1.6 วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม 
ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
       2. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็น
บางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษา
ไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วม
มือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของอาณาจักร

002-หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  
พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา

1.การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

1. ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา
2. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา
3. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา
4. ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

            1. แคว้นสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี)มีพัฒนาการสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายร้อยปี และเคยเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอู่ทอง มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เช่น พระปรางค์ที่วัดมหาธาตุ
            2. แคว้นละโว้ (ลพบุรี)ได้รับอิทธิพลของทวารวดี มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท รับวัฒนธรรมขอมในภายหลัง มีการยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้ตั้งตัวเป็นอิสระหลังจากขอมเสื่อมอิทธิพลลง และต่อมาลดความสำคัญลง  ทำให้อโยธยาขึ้นมามีอำนาจแทน

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

            1. อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการร่วมมือกันของแคว้นสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) และแคว้นละโว้ (ลพบุรี)
            2. กรุงศรีอยุธยาตั้งขึ้นในเมืองเก่าเดิมที่มีชื่อว่า อโยธยา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองสุพรรณบุรีและลพบุรี

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทอง

            1. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชัยศิริที่เคยครองเมืองฝาง (ปัจจุบันอยู่ในเขต จ.เชียงใหม่) จากนั้นมีเชื้อสายสืบราชสมบัติต่อมาหลายรุ่นจึงได้เกิดพระเจ้าอู่ทอง
            2. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอู่ทองเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ต่อมาได้รับราชสมบัติ ครองราชย์อยู่ 6 ปี จึงเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองศรีอยุธยา
            3. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับฟาน ฟลีต หรือวัน วลิต พระเจ้าอู่ทองเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจีน แล้วถูกเนรเทศมาอยู่ที่ปัตตานี
            4. และเดินทางผ่านมาทางเมืองละคร (นครศรีธรรมราช) กุยบุรี (ใน จ.ประจวบฯ) และมาสร้างเมืองพริบพรี (เพชรบุรี) ภายหลังมาสร้างเมืองอยุธยา
            จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังไม่อาจสรุปได้ว่าข้อสันนิษฐานใดน่าจะถูกต้อง

ปัจจัยสำคัญในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี


 1.       ความสัมพันธ์ ฉันเครือญาติกับแคว้นสุพรรณภูมิและแคว้นละโว้

         ทำเลที่ตั้งของ กรุงศรีอยุธยาที่เหมาะสม
         ความสะดวกในการค้าขายกับต่างชาติ
         การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร
ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร

1. แหล่งอารยธรรมดั้งเดิมอยุธยาได้รับอารยธรรมเดิมก่อนมีการตั้งอาณาจักรมาปรับใช้เข้ากับอารยธรรมใหม่ ที่อยุธยาสร้างขึ้นมา

2. สภาพภูมิประเทศกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกและค้าขาย

3. สภาพภูมิอากาศอาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น   มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้มีฝนตกชุก ส่งผลให้มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

 

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา


 

ลักษณะการเมืองการปกครอง

พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครอง  ทรงเป็นพระประมุขของอาณาจักร เป็นจอมทัพ เป็นเจ้าชีวิต และเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง เนื่องจากการรับอิทธิพลของหลักความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น สมมติเทพ  นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลความเป็นธรรมราชาตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาด้วย



รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น



การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง 

            โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้งหมดของอาณาจักร มีการกำหนดให้มีเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ เพื่อป้องกันข้าศึกก่อนที่ข้าศึกจะจู่โจมเข้ามาถึงราชธานี

            ในเขตราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า  จตุสดมภ์   รับผิดชอบดูแลการบริหารราชการแผ่นดินตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์

            จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 หน่วยงาน ดังนี้

กรมเวียง (เมือง)
กรมวัง
กรมคลัง
กรมนา
การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง
หัวเมืองชั้นใน  อยู่ไม่ไกลจากราชธานี  ทางราชธานีจะแต่งตั้ง “ผู้รั้ง” ไปปกครอง เช่น เมืองราชบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท
หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมืองที่สืบทอดทางสายเลือดเป็นผู้ปกครอง
หัวเมืองประเทศราช มีการปกครองเป็นอิสระ แก่ตนเอง ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระมหา กษัตริย์อยุธยา เช่น  เมืองนครศรีธรรมราช สุโขทัย


รูปแบบกการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง 

            สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งส่วนราชการที่มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและควบคุมกำลังคนออกเป็น 2 ฝ่าย โดยมีอัครมหาเสนาบดีรับผิดชอบารปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

พระมหากษัตริย์
สมุหพระกลาโหม ดูแลกิจการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร
สมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งจตุสดมภ์
 

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองลูกหลวงทั้ง 4 ทิศ และขยายขอบเขตการปกครองของราชธานีให้กว้างออกไป โดยให้รวมเข้ากับเมืองในวงราชธานี เป็นเมืองชั้นจัตวา มีผู้รั้งกับกรมการเมืองปกครอง
หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) มีการจัดเมืองเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งขุนนางชั้นสูงไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง
หัวเมืองประเทศราช ลักษณะการปกครองยังคงเป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น เมืองทวาย ตะนาวศรี เชียงกราน เขมร


รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

พระมหากษัตริย์

สมุหพระกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งกิจการทหารและพลเรือน
สมุหนายก ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งกิจการ ทหารและพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ และให้กรมคลังดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกทั้งกิจการทหารและพลเรือน และกรมคลัง


พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจ

ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆ ใกล้เคียง ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว
การอยู่ใกล้อ่าวไทย ทำให้พ่อค้าต่างชาติติดต่อค้าขายกับอยุธยาได้สะดวก
พระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ ช่วยดึงดูดให้พ่อค้าต่างชาติเข้ามาค้าขายกับอยุธยา


ลักษณะทางเศรษฐกิจ

เกษตรกรรม

            จากทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว นอกจากนี้ยังมีผลิตผลจากป่า เช่น ไม้ฝาง นอแรด งาช้าง ครั่ง หนังสัตว์ ยางสน ไม้กฤษณา เป็นต้น



การค้ากับต่างประเทศ

            การค้ากับต่างประเทศเป็นการค้าโดยใช้เรือสำเภา ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้าจีนที่เกี่ยวข้องกับการค้าสำเภา  นอกจากนี้ อยุธยายังติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตกด้วย ได้แก่ โปรตุเกสฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส

 

รายได้ของแผ่นดินในสมัยอยุธยา

จังกอบ รายได้ที่เก็บตามด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำโดยเก็บชักส่วนสินค้า
อากร รายได้ที่เกิดจากการเก็บส่วนผลประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่างๆของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน
ส่วย รายได้จากสิ่งของ เงินทอง ที่ราษฎรนำมาให้กับทางราชการแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เช่น ส่วยดีบุก
ฤชา รายได้จากค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเก็บจากราษฎร


พัฒนาการด้านสังคม

สังคมศักดินาสมัยอยุธยา

ความหมายของศักดินา

            ศักดินา หมายถึง เครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม เพื่อจำแนกให้เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามศักดินา  เช่น ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปมีสิทธิเข้าเฝ้าได้ แต่ต่ำกว่า 400 ไม่มีสิทธิเข้าเฝ้า

ประโยชน์ของศักดินา

            ระบบศักดินามีประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชาผู้คนตามลำดับชั้นและมอบหมายให้คนมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กำหนดเอาไว้ และเมื่อบุคคลทำผิดต่อกันก็สามารถใช้เป็นหลักในการปรับไหมได้ เช่น ถ้าผู้มีศักดินาสูงทำความผิดต่อ ผู้มีศักดินาต่ำกว่า ก็จะปรับไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า

 

โครงสร้างสังคมไทยสมัยอยุธยา

พระมหากษัตริย์ พระประมุขของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น สมมติเทพ และทรงเป็นธรรมราชา
พระบรมวงศานุวงศ์ เครือญาติของพระมหากษัตริย์มีศักดินาแตกต่างกันไปตามฐานะ
ขุนนาง บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีทั้งศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง
ไพร่ ราษฎรที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการทั้งในยามปกติและยามสงคราม และต้องสังกัดมูลนาย
ทาส บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง ต้องตกเป็นของนายจนกว่าจะได้ไถ่ตัว
พระภิกษุสงฆ์ บุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับการยกย่องและศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้น 
พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.       ความสัมพันธ์กับสุโขทัย

ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการใช้นโยบายการสร้างไมตรี การเผชิญหน้าทางทหาร และนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
อยุธยาใช้การเผชิญหน้าทางทหารกับสุโขทัยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1         (อู่ทอง) และสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพงั่ว)
สมัยสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) ทรงแก้ไขปัญหาจลาจลที่สุโขทัย  ทำให้สุโขทัยกลับมาอยู่ใต้อำนาจของอยุธยา และทรงสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
โดยให้พระราชโอรส คือ เจ้าสามพระยาอภิเษกกับเจ้าหญิงเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวกรวมสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา
2.       ความสัมพันธ์กับล้านนา

ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการเผชิญหน้าทางทหาร
สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวง พงั่ว) เป็นต้นมา อยุธยาได้รบกับล้านนาเพื่อให้มาอยู่ในอำนาจแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช อยุธยาได้ยึดล้านนาเป็นเมืองประเทศราช แต่สุดท้ายก็ต้องเป็นเมืองประเทศราชของพม่า 
สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยุธยาได้ล้านนากลับมาเป็นเมืองประเทศราช
หลังจากสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เป็นต้นไป ล้านนาก็เริ่มแยกตัวเป็นอิสระบ้าง เป็นประเทศราชของพม่าบ้าง ของอยุธยาบ้าง 
3.       ความสัมพันธ์กับพม่า
ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการเผชิญหน้าทางทหาร โดยเริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช อยุธยาได้ช่วยเมืองเชียงกรานของมอญที่ขึ้นกับอยุธยารบกับพม่า
สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง 
สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า หลังสมัยนี้ไปอยุธยาว่างเว้นสงครามกระทั่งภายหลังพม่ายกทัพมาอีกจนสามารถยึดครองกรุงศรีอยุธยาได้ใน พ.ศ. 2310
ตัวอย่างสงครามระหว่างอยุธยากับพม่าครั้งสำคัญ

1.       คราวสมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอช้าง พ.ศ. 2091

2.       สงครามประกาอิสรภาพ พ.ศ. 2127

3.       สงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135

 

4.       ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้า การผูกสัมพันธไมตรี และการเมือง

b.      ในระยะแรก ผู้นำของอยุธยาได้พยายามจะขยายอิทธิพลเหนือมอญ และเมื่ออยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า ผู้นำอยุธยาได้ขยายอำนาจเข้าครอบครองเมืองท่าของมอญแถบชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

c.       นอกจากนี้ อยุธยายังให้ที่พึ่งพิงแก่ชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามจากพม่าด้วย ทั้งนี้เพื่อที่อยุธยาจะได้อาศัยมอญเป็นด่านหน้าปะทะกับพม่าก่อนจะยกทัพมาถึงอยุธยา

 

5.       ความสัมพันธ์กับเขมร

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการเผชิญหน้าทางทหาร การเมือง และวัฒนธรรม

b.      สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ใน พ.ศ. 1895 โปรดให้พระราเมศวรและขุนหลวงพงั่ว
ยกทัพไปตีเขมร และกวาดต้อนชาวเขมรบางส่วนมาไว้ในเขตไทย ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรด้วย

c.       สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพงั่ว) ยกทัพไปตีเขมร  

d.      สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ยึดราชธานีเขมรที่นครธม  และทรงแต่งตั้งพระนครอินทร์ พระราชโอรสไปครองเขมร ปกครองไม่นานก็ถูกเขมรลอบปลงพระชนม์

e.      สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไทยติดพันสงครามกับพม่า เขมรได้ถือโอกาสยกทัพมาตีไทย

f.        สมัยสมเด็จพระนเรศมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองละแวก ราชธานีเขมรขณะนั้นได้ และหลังจากสมัยนี้ เขมรเริ่มตั้งตัวเป็นอิสระ และในตอนปลายสมัยอยุธยา เขมรได้อ่อนน้อมต่ออยุธยาบ้าง ญวนบ้าง จนกระทั่งเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 เขมรจึงเป็นอิสระ

6.       ความสัมพันธ์กับล้านช้าง

a.       ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการผูกสัมพันธไมตรี

b.      สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งล้านช้าง

c.       สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไทยกับล้านช้าง 
มีความสนิทแนบแน่นมากขึ้น เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างแต่งตั้งทูตมากราบทูลขอพระเทพกษัตรีไปเป็นพระอัครมเหสี แต่ถูกพระเจ้า-บุเรงนองส่งทหารมาชิงตัวไปเสียก่อน อย่างไรก็ดี อยุธยายังคงรักษาสัมพันธไมตรีอันดีเอาไว้ จนกระทั่งสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 1 ทำให้ความสัมพันธ์ลดน้อยลงไป

7.       ความสัมพันธ์กับญวน

a.       ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยลักษณะความสัมพันธ์
จะเป็นการเผชิญหน้าทางทหาร เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือเขมร

b.      สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เกิดเหตุการณ์แตกแยกภายในราชวงศ์เขมรระหว่างพระธรรมราชากับนักแก้วฟ้าจอกจนถึงขั้นทำสงครามกัน อยุธยาและญวนต่างสนับสนุนแต่ละฝ่าย ความขัดแย้งภายในทำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามระหว่างกัน ในที่สุดอยุธยาชนะและได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจ ไม่นานญวนก็เข้าไปมีอิทธิพลเหนือเขมรอีก อยุธยาจึงต้องยกทัพไปตีเขมรกลับมา ซึ่งสถานการณ์ในเขมรจะเป็นลักษณะเช่นนี้จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา

8.       ความสัมพันธ์กับจีน

a.       ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบรัฐบรรณาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองและการค้า

b.      ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ที่ทรงขึ้นครองราชย์มักจะแต่งตั้งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปยังจีน เพื่อให้จีนรับรองเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าและเพื่อความชอบธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์  ซึ่งการติดต่อระหว่างอยุธยากับจีนดำเนินไปอย่างราบรื่น ยกเว้นในช่วงที่อยุธยามีปัญหาการเมืองภายในหรือทำสงครามกับภายนอก ความสัมพันธ์จะหยุดชะงักชั่วคราว 
เมื่อเหตุการณ์สงบ การติดต่อก็เริ่มต้นขึ้นอีก

9.       ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

a.       ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการค้าและการเมือง

b.      สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ อยุธยามีการติดต่อกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

c.       สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการปราบปรามชาวญี่ปุ่นบางคนที่คิดก่อการร้าย ทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากพากันอพยพออกจากอยุธยา และแม้ว่าอยุธยาจะส่งทูตไปเจรจาสัมพันธไมตรีและค้าขายที่ญี่ปุ่นอีก แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับ อาจเป็นเพราะเหตุการณ์ที่ทรงปราบปรามญี่ปุ่น และญี่ปุ่นดำเนินนโยบายปิดประเทศ

10.   ความสัมพันธ์กับเปอร์เซีย

a.       ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นด้านการค้า

b.      สันนิษฐานว่าอยุธยาเริ่มมีความสัมพันธ์กับเปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) ในสมัยสมเด็จ
พระเอกาทศรถ โดยเป็นเรื่องการค้าขาย

c.       สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ่อค้าเปอร์เซียชื่อ เฉกอะหมัด ได้รับราชการจนมีความดีความชอบได้เป็นเจ้ากรมท่าขวา

d.      สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เปอร์เซียส่งทูตมาเข้าเฝ้า แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานถึงการเดินทางเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและเปอร์เซียอีก

11.   ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้า การเมือง และวัฒนธรรม

b.      เริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อโปรตุเกสยึดมะละกา แต่มะละกาเป็นประเทศราชของอยุธยา โปรตุเกสจึงส่งทูตมาเจรจาและทำสนธิสัญญาระหว่างกัน

c.       นอกจากนี้ อยุธยายังซื้อปืนจากโปรตุเกสและจ้างทหารโปรตุเกสมาเป็นทหารอาสา รวมถึง  รับวัฒนธรรมการทำขนมหวานจากโปรตุเกส อันเป็นที่มาของขนมหวานไทย ในปัจจุบันด้วย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

12.   ความสัมพันธ์กับฮอลันดา

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้าและการเมือง

b.      สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฮอลันดาส่งคณะทูตมาเจรจาและขอตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานี

c.       สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อยุธยากับฮอลันดา ได้ทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างกัน

d.      สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฮอลันดาส่งเรือรบปิดท่าเรือตะนาวศรี อยุธยาจึงตัดสิทธิพิเศษทางการค้า

e.      สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เกิดความขัดแย้งกับฮอลันดา จนต้องดึงฝรั่งเศสเข้ามาถ่วงดุลอำนาจ ทำให้ฮอลันดาค่อยๆ ลดปริมาณการค้าและถอนตัวออกจากอยุธยาในที่สุด

13.   ความสัมพันธ์กับอังกฤษ

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้าและการเมืองในบางช่วง

b.      สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงอนุญาตให้อังกฤษเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาได้ แต่ถูกฮอลันดาขัดขวางจนต้องปิดกิจการ

c.       สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งเพื่อดึงอังกฤษมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา  แต่อังกฤษไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับฮอลันดา จนเมื่อเรือค้าขายของอังกฤษถูกปล้นสะดมในน่านน้ำเมืองมะริดจนต้องสู้รบกับอยุธยาที่เมืองมะริด ทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันไป

14.   ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส

a.       ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งศาสนา การค้า และการเมือง

b.      สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงต้องการ ให้ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา  จนกระทั่งฝรั่งเศสเข้ามาตั้งสถานีการค้า และภายหลังส่งคณะทูตเดินทางมาอยุธยาเป็น
ครั้งแรกเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และอยุธยาก็ส่งคณะทูตไปฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดี

c.       ภายหลังฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง และการทหาร จนต้องมีการขับไล่ฝรั่งเศสออกไป หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสก็ลดลงและห่างเหินกันไป

15.   ความสัมพันธ์กับสเปน

a.       ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับสเปนค่อนข้าง มีน้อยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการค้า

b.      สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ข้าหลวงใหญ่ของสเปนที่เมืองมะนิลาได้ส่งทูตมาเชื่อมสัมพันธไมตรีและเจรจาทางการค้ากับอยุธยา

c.       สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเรือสินค้าสเปนเดินทางจากเมืองมะนิลาเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าไม่มากนัก

d.      สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ผู้สำเร็จราชการสเปนที่เมืองมะนิลาส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและขออนุญาตตั้งสถานีการค้าขึ้นใหม่ แม้การเจรจาจะประสบความสำเร็จ แต่ปริมาณการค้าก็มิได้ขยายตัวและได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ในที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติก็ห่างเหินกันไป



การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้เอกราช

สาเหตุเกิดจากความแตกสามัคคีภายใน พระยาจักรีเป็นไส้ศึก

การกู้เอกราช

เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อพระนเรศวรซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงประกาศอิสรภาพ
จากพม่าที่เมืองแครงใน พ.ศ. 2127ธยาครั้งที่ 1 และการกู้เอกราช



การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และการกู้เอกราช

สาเหตุ

การขาดประสบการณ์ในการทำสงครามขนาดใหญ่ของฝ่ายอยุธยาการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การรบของพม่า 
ด้วยการยกมาตีอยุธยาทั้งทางเหนือและทางใต้ และกวาดต้อนผู้คน เสบียงอาหารเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา

การกู้เอกราช

พระยาตาก (สิน) ได้นำไพร่พลฝ่าวงล้อมพม่าไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี จากนั้นนำไพร่พลตีหัวเมืองรายทางไล่มาจนถึงเมืองธนบุรีที่พม่าคุมอยู่ และตามตีไปถึงค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นทัพพม่าที่รักษาอยุธยาอยู่จนแตก



ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

ความหมายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ  ที่ได้จากประสบการณ์ที่สั่งสม ไว้ในการปรับตัวและการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา

วัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ระบบคุณค่า และวิถีชีวิตทั้งหมด ดังนั้น ภูมิปัญญาทั้งหลายจึงได้รับการ       สั่งสมอยู่ในวัฒนธรรมนั่นเอง

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม

1.       ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะต่อการเพาะปลูกและค้าขาย จึงส่งเสริม ให้มีการคิดค้น ภูมิปัญญาสำหรับการประกอบอาชีพ

2.       ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นสังคมศักดินามีการนับถือพระพุทธศาสนา และใช้กุศโลบายทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการอบรมสั่งสอนผู้คน

3.       การรับอิทธิพลจากภายนอก การติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ทำให้เกิดการเรียนรู้จากชาติต่างๆ 
แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับคนไทย



ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการสร้างรูปแบบการปกครอง

สังคมไทยสมัยอยุธยามีความเชื่อว่าการปกครองบ้านเมืองต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด อันเป็นผลมาจากการรับเอาคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ จึงต้องมีการวางกฎเกณฑ์หลายประการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นเทพเจ้า มีพระบรมเดชานุภาพ เช่น  มีการสร้างพระราชวังสำหรับพระมหากษัตริย์  มีการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์มีการตรากฎมณเฑียรบาล

 

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการวางระบบควบคุมกำลังพล

1.       ระบบการควบคุมกำลังคนสมัยอยุธยากำหนดให้ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย  โดยมูลนายจะต้องดูแลและให้ความคุ้มครองไพร่ในแต่ละกรมกอง ส่วนไพร่ก็ต้องให้ความเคารพยำเกรงมูลนายของตน

2.       การควบคุมแรงงานไพร่ในแต่ละกรมจะมีการควบคุมเป็นลำดับชั้น แต่ละกรมจะจัดทำบัญชีรายชื่อและที่อยู่ของไพร่ที่สังกัดกรมของตน  นอกจากนี้ยังมีพระสุรัสวดี ทำหน้าที่เป็นผู้ถือบัญชีไพร่ของทุกกรมและขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์

3.       ระบบการควบคุมกำลังคนในสมัยอยุธยาทำให้กลุ่มคนไทยสามารถอยู่รวมกันได้เป็นกลุ่มก้อน ไม่กระจัดกระจายกันออกไป และสะดวกต่อการเกณฑ์ไพร่พลไปทำสงคราม



ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการสร้างที่อยู่อาศัย

1.       เรือนของขุนนาง (เรือนเครื่องสับ)  เป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนสูง สร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เช่น ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง ตัวเรือนสามารถรื้อถอนแล้วนำไปประกอบใหม่ได้เหมือนเดิม

2.       เรือนของไพร่ (เรือนเครื่องผูก) เป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนเตี้ย สร้างด้วยวัสดุไม่คงทนถาวร เช่น ไม้ไผ่ มักปลูกเป็นการชั่วคราว   ถ้าไพร่มีฐานะสูงก็สามารถใช้เรือนแบบขุนนางได้

 

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการบำบัดรักษาคนไข้

1.       การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยามีพื้นฐานมาจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด และการยอมรับร่วมกันของคนในสังคม จนสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

2.       ระบบการแพทย์สมัยอยุธยามีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเป็นสัดส่วน และมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบำบัด รักษาคนไข้แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีโรงพระโอรสเป็นหน่วยงานดูแลเกี่ยวกับการรักษายาสมุนไพร จำแนกหมวดหมู่ยา ควบคุมมาตรฐานและผลิตยา และตำราแพทย์หลวง

2.



ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการปลูกฝังศีลธรรมให้สังคม

สังคมไทยสมัยอยุธยามีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา นอกจากผู้คนนิยมทำบุญ ฟังธรรมแล้ว ยังมีการใช้วรรณกรรมของพระพุทธศาสนามาสอนคนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษด้วย โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงนิพนธ์หนังสือพระมาลัยคำหลวง ซึ่งเมื่อพระภิกษุนำไปเทศน์ให้ชาวบ้านฟัง หรือมีผู้อ่านหนังสือพระมาลัยคำหลวงก็ดี เท่ากับได้รับคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วย เป็นการปลูกฝังคนไทยให้ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว



ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการปลูกฝังศีลธรรมให้สังคม

1.       ด้านสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนา เช่น เจดีย์ พระปรางค์ โบสถ์ วิหาร มณฑป รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชวัง พระที่นั่งต่างๆ    

2.       ด้านประติมากรรม ส่วนใหญ่นิยมสร้างพระพุทธรูป พระพุทธรูปยุคแรกๆ เป็นแบบอู่ทอง เช่น พระพุทธ รูป องค์ใหญ่ที่วัดพนัญเชิง จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ศิลปะแบบสุโขทัยได้แพร่หลายเข้ามา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา พระพุทธรูปมักทำเป็นแบบทรงเครื่อง มีเครื่องประดับสวยงาม เช่น  พระประธานวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3.       ด้านจิตรกรรม ส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เป็นภาพเขียนสี นิยมเขียนเป็นพุทธบูชา
ตามผนังโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในคูหาภายในองค์พระปรางค์ สถูป เจดีย์ และในสมุดไทย

4.       ด้านประณีตศิลป์ งานประณีตศิลป์มีทั้งประเภทเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องไม้จำหลัก ซึ่งล้วนมีฝีมือสวยงามและประณีต